บทที่ 566
 

วันนี้เราจะมาคุยเรื่องราศีกันต่อ ข้อสรุปอิทธิพลของราศีต่าง ๆ 
อิทธิพลของราศีต่าง ๆ ในจักรราศีที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดนี้ เป็นอิทธิพล โดยทั่วไป นักโหราศาสตร์ ย่อมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกสาขาของชีวิต โดยไม่จำกัดว่า สิ่งนั้นจะมีหรือไม่มีชีวิตก็ตาม จะมีหรือไม่มีวิญญาณครองก็ได้ มีกายหรือไม่มีกายปรากฏก็ได้ สิ่งหรือปรากฏการณ์ใด ๆ ก็ตามที่มีการเริ่มต้น สิ่งหรือปรากฏการณ์นั้น ๆ จะต้องมีจุดจบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และก็จะต้องมีอันเป็นไปตามพัฒนาการของของวงรอบในทางธรรมชาติ คือ
" ล้วนไม่เที่ยง " ทั้งนั้น วิชาโหราศาสตร์ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ให้ความสว่างแก่มนุษย์ เกี่ยวกับ " ระเบียบของโลก" จะเป็นผู้บอกข่าวสารซึ่งเกี่ยวกับสิ่งที่อุบัติขึ้นมาในโลกทั้งปวง ทั้ง อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต

การแสงอิทธิพลของจักรราศี
เราคงจะทราบแล้วว่า จักรราศีมี
2 แบบ คือ จักรราศีนิรายนะ กับ จักรราศีสายนะ ราศีทั้ง 2 แบบนี้ มีอิทธิพลเหนือกันทุกประการ และเป็นไปตามข้อพิจารณา ถึงแม้จักรราศี 2 แบบ จะเป็นจักรราศีคนละอันกันก็ตาม กล่าวคือ
จักรราศีแบบสายนะ แสดงอิทธิพลแก่โลก เพราะการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ในรอบปี
จักรราศีแบบนิรายนะ แสดงอิทธิพลแก่โลก ในลักษณะที่มีสภาพเสมือนเป็น แถบสะท้อน หรือ สายสะท้อนคลื่น ของสายอากาศโทรทัศน์
( รีเฟลคเตอร์ ) ในโหราศาสตร์ยูเรเนียน เราใช้แบบสายนะ ถูกต้องที่สุด ส่วนของราศีแบบนิรายนะ ใช้สำหรับวินิจฉัย เกี่ยวกับเรื่องยุคในทางโหราศาสตร์

บทที่ 567
วันนี้เรามาต่อเรื่องราศีกัน เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ดวงอาทิตย์ มีความสำคัญต่อโลกเพียงใด เพราะถ้าหากโลกเราขาดดวงอาทิตย์ เสียแล้ว สิ่งมีชีวิต ทั้งหลายย่อมอยู่ไม่ได้  และโลกก็จะมีสภาพเหมือนกับวัตถุแข็งที่ "ตายแล้ว" เมื่อดวงอาทิตย์มีความสำคัญต่อโลก ดวงอาทิตย์ก็ย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่งของมนุษย์ด้วย และเนื่องจาก "สิ่ง"  ที่ไวต่อพลังงาน อันได้แก่ แสงสว่าง ความร้อน จากดวงอาทิตย์นั่นคือ " สิ่งที่มีกาย" ฉะนั้น อาทิตย์ จึงมีความสำคัญอย่างที่สุดต่อ สิ่งที่มีกาย ด้วยเช่นเดียวกัน และเมื่อดวงอาทิตย์มีอิทธิพลสามารถที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ให้แต่โลกให้เป็นไปตามตำแหน่งโคจรมาสถิต ดังเช่นการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เป็นต้น อาทิตย์จึงมีอิทธิพลสามารถที่จะเปลี่ยนแปลง บรรดาสิ่งที่มีกายทั้งหลายที่อุบัติในโลก ให้เป็นไปโดยสัมพันธ์กันกับตำแหน่งที่โคจรในรอบปีนั้น ด้วย ชีวิตของมนุษย์หรือสิ่งที่มีกายทั้งหลายจึงขึ้นอยู่กับ ตำแหน่ง ของดวงอาทิตย์ในจักรราศีด้วยประการฉะนี้ บุคคลใดก็ตามขณะเกิดปรากฏว่าดวงอาทิตย์สถิตอยู่ในราศีใด เขาก็จะมีบุคลิกภาพเป็นไปตามความหมายหรืออิทธิพลทางโหราศาสตร์ของราศีนั้น ๆ
 

บทที่ 568
มาต่อกัน ยกตัวอย่าง นาย ก เกิดวันที่ 17  กรกฎาคม  ปี พ.. ใดก็ตาม นาย ก. จะเป็นบุคคลที่อยู่ในอิทธิพลของราศี กรกฎ เพราะดวงอาทิตย์ ขณะที่ นาย ก. เกิด จะสถิตใน ราศีกรกฎ และนาย ก. ก็จะเป็นคนรักสงบ หรือตั้งอยู่ในความสงบ ทำนองน้ำนิ่งไหลลึก ตามอิทธิพลของราศีกรกฎ หรือนาย ข. เกิดวันที่ 29 ธันวาคม ปี ใด ก็ได้ นาย ข. จะเป็นบุคคลที่อยู่ในราศีมังกร มีบุคลิก ภาพคล้ายธรรมชาติใน ฤดูหนาว คืออดทน ทรหดอดทน ขี้ วิตกกังวล เงียบเหงา
อย่างไรก็ดี จะไม่มีบุคคลใดในโลก ที่ได้รับอิทธิพลแต่เฉพาะราศีใดราศีหนึ่งแต่งเพียง ราศีเดียว ทุกคนย่อมได้รับอิทธิพลราศีต่าง ๆ ตามอัตราส่วนที่แน่นอนอันหนึ่ง เช่นได้รับอิทธิพลจากราศีเมษเล็กน้อย ได้รับอิทธิพลจากราศีมิถันนิดหน่อย ได้รับอิทธิพลจากราศีกุมภ์ เป็นส่วนมาก ฯลฯ ดังโบราณ หรือโหราศาสตร์ยุคศิลปะ ปัจจัยที่นับว่าสำคัญเป็นพิเศษ ที่แสดงการรับอิทธิพลจากราศีต่าง ๆ นอกจาก อาทิตย์ ดังได้กล่าวมาแล้ว ยังมีอีก
2 ปัจจัยคือ ลัคนา และจันทร์ ปัจจัยทั้ง 2 ปัจจัย หลังนี้ sหากขณะเจ้าชะตาเกิดสถิตในราศีใด เจ้าชะตาก็จะได้รับอิทธิพลของราศีนั้น ๆ อย่างมากเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสิ่งที่มีกาย หรือร่างกาย เป็นสิ่งที่ไวต่อพลังงานของดวงอาทิตย์ ฉะนั้นอิทธิพลของราศีที่มีผลทางกายจึงปรากฏรุนแรง ในราศีที่ดวงอาทิตย์สถิต ณ ขณะเกิดของเจ้าชะตา ตัวอย่างนาย ก. เกิดวันที่ 17 กรกฎาคม ปีใดก็ได้ นอกจากนาย ก. จะเป็นคนน้ำนิ่งไหลลึกดังกล่าวมาแล้ว ยังเป็นคนซึ่ง มีรูปร่างตามอิทธิพลของราศีอีกด้วย ไม่มากก็น้อย ซึ่งลักษณะรูปร่างของของบุคคลราศีต่าง ๆ นี้ มีปรากฏอยู่ในหนังสือ "
ทฤษฎีการพยากรณ์" เรียบเรียงโดย พ..ตรีประยูร พลอารีย์ ซึ่ง การพยากรณ์เกี่ยวกับรูปร่างของเจ้าชะตาโดยทั่วไปนี้
ราศี ธาตุลม ผอม
ราศี ธาตุไฟ และธาตุดิน มีกล้าม
ราศี ธาตุน้ำ  อ้วน
คำว่า ธาตุ ที่อ้างถึงข้างบนนี้ ท่านจะได้ทราบโดยสังเขป ในข้อต่อไป
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ในการพิจารณาเกี่ยวกับรูปร่างของเจ้าชะตา จะนิยมการพยากรณ์โดยใช้อาทิตย์ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้ว จะพิจารณารวมกันไปทั้ง อาทิตย์ ลัคนา และจันทร์ โดยการเอามาผสมกันแล้วทำนาย
 

บทที่ 569
 

เมื่อนักโหราศาสตร์พบว่า จักรราศี มีอิทธิพลต่อความเป็นไปของโลกและต่อบรรดา สิ่ง ต่าง ๆ ทั้งปวงที่อยู่บนโลก เขาก็พยายามสร้างทฤษฏีต่าง ๆ นั้น เพื่อใช้สำหรับวิเคราะห์ และ สังเคราะห์จักรราศี ในลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับการค้นพบ สิ่ง ในศาสตร์อื่น ๆ ตามปกติทฤษฏีในทางโหราศาสตร์ย่อมจะมีวิวัฒนาการสอดคล้องกันกับทฤษฏีของศาสตร์อื่น ๆ
อันที่จริงทฤษฏีการพยากรณ์ เกี่ยวกับจักรราศีนี้ มีมากมาย แต่ที่นิยมและใช้กันมากในหมู่นักโหราศาสตร์ยุคศิลปะ นั้น ได้แก่ทฤษฏี ดังต่อไปนี้
ความเป็นคู่
   ความเป็นคู่ ในที่นี้ หมายถึง " สัมพันธภาพอันแบแน่น "  ระหว่างราศีที่อยู่ตรงกันข้ามกัน ( ในวิชาโหราศาสตร์เรียกว่า"เล็งกัน")  อิทธิพลของราศีหนึ่ง ย่อมจะมีสัมพันธภาพกัน อิทธิพลของราศีที่เป็นคู่ หรือราศีที่อยู่ตรงกันข้ามกับตน อย่างแนบแน่เสมอไป
  ตัวอย่าง เช่น ราศีเมษ มีอิทธิพลก่อให้เกิดการบุกเบิก ผู้ที่อยู่ในอิทธิพลของราศีเมษ จะมีความโน้มเอียงที่จะถือตนเองเป็นหลัก และเพ่งเล็งถึงตนเองก่อนสิ่งอื่นใด ไม่ว่าจะเรื่องใด ๆ ก็ตาม คู่ของราศีเมษ ก็คือราศีตุล อิทธิพลของราศีตุลจะเป็นไปในทำนอง " ออมชอม" กับอิทธิพลของราศีเมษ กล่าวคือ มีลักษณะ " คล้อยตาม"  ปฏิกิริยาของอิทธิพลของราศีเมษ เสมอไป ดังนั้นบุคคลที่อยู่อิทธิพลของราศีตุล จึงมีความโน้มเอียงที่จะสร้างความปรองดอง สร้างความออมชอม หรือสร้างไม่ตรีกับบุคคลอื่น ๆ สำหรับราศีอื่น ๆ ก็คงทำนองเดียวกัน ท่านลองย้อนกลับดูอิทธิพลของแต่ละราศีดู ก็จะเห็นว่า มีความสมจริงเช่นนั้น

บทที่ 570

 ราศี และ สิ่ง ประจำราศี
 การจำแนก สิ่ง หรือ วัตถุ ต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ สี อัญมณี อักษร และวัตถุธาตุอื่น ๆ ลงไว้ในราศีต่าง ๆ ทั้ง
12 ราศี ถือว่าเป็นพฤติภาพปลีกย่อยหนึ่งของวิชาโหราศาสตร์ แม้ว่าจะมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ในหมู่นักโหราศาสตร์ ก็ตาม แต่มันเป็นความเชื่อถือที่แฝงอยู่ ซึ่งไม่มีใครกล้าปฏิเสธโดยตรง ดังจะเห็นได้ว่า ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อย ที่ยังนิยมไปเที่ยว หรือไปพักผ่อน หรือตั้งถิ่นฐาน ณ ตำบลหรือสถานที่ มีลักษณะตามราศีที่ถือว่า "เด่น"
ในดวงชะตาของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งราศีที่มี เมอริเดียน และ อาทิตย์ สถิตอยู่

บทที่
571

เพศประจำราศี
ราศีทั้ง 12 ราศีจักรราศีแบ่งออกเป็น 2 เพศคือ
เพศชาย หรือ ราศีบวก มีอิทธิพลคือ  ทำงานหรือแสดงปฏิกิริยา จากภายในสู่ภายนอก
                                                         มีความดิ้นรนด้วยจิตรู้สำนึก ด้วยความ ปรารถณา ไม่สู่ความเป็นอิสระภาพ
เพศหญิง หรือ ราศีลบ มีอิทธิพลคือ   ทำงานหรือแสดงปฏิกิริยา จากภายนอกมาสู่ภายใน
                                                         มีความดิ้นรนโดยจิตไร้สำนึก เพราะแรงผลักดัน ไปสู่สภาพอื่น
หรืออาจสรุปได้ว่า  ราศีเพศชายมีอิทธิพลทำให้เกิดการแสดงออก ส่วนราศีเพศหญิงมีอิทธิพลทำให้เกิดความไม่แสดงออก ตามความหมายทางด้านจิตวิทยาก็ได้ อย่างไรก็ตามความหมายหลักซึ่งใช้กันโดยทั่ว ๆ ไป คือ เพศชาย แสดงอิทธิพล เชิงรุก เพศหญิง แสดงอิทธิพล เชิงรับ
ตัวอย่าง  เช่นบุคคลในราศีเมษ มักมีบุคลิกภาพ เชิงรุก บุคคลในราศีพฤษภ จะมีบุคลิกภาพ เชิงรับ สลับกันไป

ธาตุ
นักโหราศาสตร์ จำแนกราศีต่าง ๆ ออกเป็น ธาตุ รวม 4
ธาตุด้วยกัน คือ ธาตุไฟ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุน้ำ อิทธิพลของธาตุ จะแสดงออกให้ในด้านจิตวิทยา ดังต่อไปนี้
ธาตุไฟ
ได้แก่ ราศีเมษ สิงห์ ธนู มีอิทธิพลคือ ก่อให้เกิดแสดงออกของ สัญชาติญาณ หรือวิญญาณ อันเกิดขึ้นจาก
ความปรารถณา  อิทธพลของราศีของสัญชาตญาณ แห่งความปรารถณาเหล่านี้ มีความโน้มเอียงที่จะตกเป็นทาสของ แรงผลักดัน อันเกิดจากพลังงานความปรารถณา แสดงความปรารถณาซึ่งมีแผนอยู่แล้ว มีความดิ้นรนด้วยความทะเยอทะยานและไฝสูง รู้สำนึกหรือมีสติอย่างเห็นได้ชัด แรงผลักดันไปสู่เป้าหมายมีความแรงกว่าอุปรสรรค์ขวางหน้า อาจจะดิ้นรนไปสู้เป้าหมายมีลักษณะร้อนแรง มีความรู้สึกร้อนแรงเหมือนไฟ แต่ตกเป็นทาสของความปรารถณา หากไปในทางด้านโทษ อาการสำแดงของความปรารถณาจะเป็นไปในทางเอาแต่ใจตนเอง กดขี่ข่มเหง ข่มขู่หรือแสดงความเป็นเจ้าของ
สรุปอิทธิพลของธาตุไฟ ก็คือ ก่อให้เกิด ความกระตือรือร้น นั่นเอง

บทที่
572

ธาตุดิน
ได้แก่ ราศี พฤษฤ กันย์ มังกร มีอิทธิพลคือ ก่อให้เกิดการแสดงออกของ
" แรงผลักดัน" ความอยาก อันเกิดจากความเสนหาในทางวัตถุเพราะเกิดความรู้สึก อิทธิพลของราศีเหล่านี้ก่อให้เกิดความโน้มเอียงที่จะตั้งตนเป็นบุคคลอยากได้ มีความดิ้นรนไปสู่การมีความมั่นคงทางด้านวัตถุและการมีความจริงจังทางด้านอุดมการณ์ ซาบซึ้งในทุกสิ่งทุกอย่างอันเกี่ยวกับการปรารถณา และการฝึกการฝึกฝนทางด้านวัตถุนิยม แรงพลักดันไปสู่เป้าหมายอันแท้จริงน้อยกว่าอุปสรรคที่ขวางหน้า เพราะเหตุนี้เอง  บุคคลที่อยู่ในอิทธิพลของราศีเหล่านี้จึง มักเป็นบุคคลรักสงบ ระวังตัว อดทน และเนื่องจากต้องพัวพันกับวัตถุ
สมบัติ และรักษาผลประโยชน์ หรือหัวโบราณ การดิ้นรนไปสู่เป้าหมาย จึงถูกจำกัดลง หากเป็นไปในทางด้านโทษ จะทำให้กลายเป็นบุคคลที่เห็นแก่วัตถุสมบัติมากจนเกินไป บ้าสมบัติ หรือเป็นบุคคลเห็นแก่ตัวหรือขี้เหนียว สรุปอิทธิพลของธาตุดิน ก็คือ ก่อให้เกิดความมั่นคง นั่นเอง

บทที่ 573
ธาตุลม
 ได้แก่ ราศี มิถุน ตุล กุมภ์  มีอิทธิพลคือ ก่อให้เกิดการแสดงออกของ
"สัญชาติญาณ" หรือวิญญาณ อันเกิดจากความเฉียวฉลาด เนื่องจากธาตุลมล้วนเป็นราศีเพศชาย จึงเน้นหนักถึงการมีความปรารถรณา ในแง่ของการก่อให้เกิดปัญญาความฉลาด มากว่าที่จะมีความรู้สึกร่วมด้วย เพราะเหตุนี้เอง ราศีเหล่านี้ จึงมีความโน้มเอียงที่จะมีคุณสมบัติ ทางทฤษฏี มากว่าคุณสมบัติ " ปฏิบัติ"  แต่ทฤษฏีดังกล่าวนี้ เป็นทฤษฏีสำหรับให้ปฏิบัติ คุณสมบัติความเบาความรวดเร็ว ของราศีธาตุลมยังก่อให้เกิด ความสามารถในการเข้ากันกับ บุคคลอื่นได้อย่างดีเลิศ ปรับตัวได้เก่ง ไม่แข้งกระด้าง อีกด้วย สำหรับกรณีโทษคือ ไม่เป็นตัวของตัวเอง ขาดความยับยั้งชั่งใจ และขี่ตื่น สรุปคุณสมบัติธาตุลม ก็คือ ก่อให้เกิด ความคิดนั่นเอง

บทที่ 574

ธาตุน้ำ
ได้แก่ ราศี กรากฏ พิจิก มีน มีอิทธิพลคือ ก่อให้เกิดจิตใจ อันสืบเนื่องมาจากการมีความรู้สึก การพูดให้แคบเข้าก็คือ ก่อให้เกิดจิตใจอันเกิดขึ้นเพราะอารมณ์ แห่งความรู้สึกทางดานของชีวิตต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้เอง การมีอารมรณ์ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่เสทมอ การมีความรู้สึกที่อ่อนไหว ความรู้สึกได้ในใจทางต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นเพราะอาการประทับใจอย่างสุดซึ้ง ความเป็นเจ้าอารมณ์ ย่อมมีผลทำให้หลังความปรารถณา มีสภาพอ่อนลง ฉนั้นความปรารถณา ในเชิงลุกจึงไม่มีอยู่เลย คงมีแต่ปฏิกิริยาของ
"แรงขับ" อันเกิดจากสัญชาตตญาณ เท่านั้นอย่างมากมาย บุคคลจำพวกนี้จึงต้องอาศัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นผู้คอยกล่อมเกลาอารมรณ์ให้ อันเป็นเสมือนกับคุณลักษณะของน้ำ ซึ่งต้องการภาชนะรองรับฉันนั้น ในด้านโทษ ราศีธาตุน้ำจะก่อให้เกิดอิทธิพลทำให้เกิดความกลัดกลุ้ม ขาดความแน่นอนมั่นคง

บทที่ 575
คุณะ
นักโหราศาสตร์จำแนกจักรราศีออกตาม
"คุณะ" เป็น 3 ชนิด คือ
1  จักรราศี ได้แก่ ราศีเมษ กรกฎ ตุล  มังกร  มีคุณสมบัติ " พุ่งออกไปข้างหน้า"
จักรราศี ได้แก่ ราศีพฤษภ สิงห์ พิจิก กุมภ์  มีคุณสมบัติ " คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง"
จักรราศี ได้แก่ ราศี มิถุน  กันย์ ธนู มีน  มีคุณสมบัติ " เปลี่ยนแปลง ปรับตัว "
     คุณะ ได้แสดงอิทธิพลเกี่ยวกับบุคลิกภาพของบุคคล แต่แสดงเพียง "ความแรง " อย่างเดียว บางทีก็เรียกจักรราศีว่า "ราศีขั้นที่ 1 " "ราศีขั้นที่ 2 " "ราศีขั้นที่ 3" ลำดับขั้น คือ ลำดับความแรงของราศี โดยขั้นที่ 1 ถือว่ามีความแรงสุด ขั้นที่สาม นั้นอ่อนสุด
ยกตัวอย่าง ราศีเมษ กับ ราศีกรกฎ เป็นต้น ราศีทั้งสองนี้ มีคุณสมบัติในทางโหราศาสตร์เกี่ยวกับบุคลิกภาพของบุคคลแตกต่างกัน แต่ความแรง หรือลักษณะความแรงเหมือนกัน ๆ กัน กล่าวคือ ราศีเมษ จะแสดงการแสดงออกของความปรารณาในรูปต่าง ๆ หรือ แสดงถึงความกระตือรือร้นอย่างรุ่นแรง ส่วนราศีกรกฎนั้น แสดงออกถึงปฏิกิริยาทางด้านอารมณ์และญาณ อย่างรุนแรง เหมือน ๆ กับราศีเมษ เพราะล้วนเป็นจักรราศีหรือราศีขั้นที่
1 ด้วยกัน
ในการวิเคราะห์จักรราศี ตามปกติ นักโหราศาสตร์จะใช้เพียง
3 ทฤษฏี ในการวิเคราะห์ คือ เพศ  ธาตุ  คุณะ

ซึ่งนับว่าเพียงพอแล้วในการวินิจฉัยดวงชะตา เช่นต้องการพิจารณาราศีมีนให้ละเอียดถี่ถ้วน นักโหราศาสตร์จะพิจราณาโดย สาม ทฤษฏีนี้ กล่าวคือ เป็นราศีเพศหญิง ย่อมมีคุณสมบัติ "เชิงรับ" ไม่แสดงออกประการที่สองก็เป็นราศีธาตุน้ำ มีคุณสมบัติไปทางด้านของอารมณ์และญาณ ประการที่สาม เป็นราศีชนิดที่ 3 มีคุณสมบัติสามารถเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวได้ เมื่อประกอบกันเข้า ก็จะทราบคุณสมบัติทางด้านจิตวิทยาของบุคคลในราศีมีนได้ว่า เป็นผู้มีบุคลิกเชิงรับ ไม่แสดงออก มีความประใจ หรือมีญาณ มีความสามารถในการปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี ดังนี้เป็นต้น
ในการนำเอาทฤษฎี จักรราศีไปใช้ในการพยากรณ์ประกอบดาวพระเคราะห์ก็เช่นกัน จะได้กล่าวต่อไป  นักโหราศาสตร์จะนำเอาทฤษฎีเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์และสังเคราะห์ ซึ่งในที่สุดก็จะออกมาเป็นคำพยากรณ์สำเร็จรูป ว่าดาวพระเคราะห์ดวงนั้น ๆ เมื่อสถิตในราศีนั้น ๆ จะแสดงอิทธิพลทำให้เจ้าชะตาเป็นบุคคลอย่างไร ทั้งนี้ไม่ต้องมีการท่องจำแต่ประการใด


บทที่
576
ในสมัยก่อน นักโหราศาสตร์ได้ใช้ดาวพระเคราะห์ในการทำนายเพียง 7 ดวง เท่านั้นในสมัยนั้น คือ อาทิตย์ จันทร์  (อาทิตย์ จันทร์ มักพิจารณารวมเป็นหน่วยเดียวกัน และเรียกว่า "ดวงประทีป" หรือ ผู้ให้แสง และ พุธ อังคาร พฤหัส ศุกร์ เสาร์  ครั้นต่อมาภายหลัง วิชาดาราศาสตร์เจริญขึ้น กิจกรรมทางโหราศาสตร์ขยายตัวกว้างขวางขึ้น ประกอบกับมีการค้นพบดาวใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น นักโหราศาสตร์จึงได้พัฒนาการเอาปัจจัยโหราศาสตร์อื่น ๆ รวมทั้งดาวพระเคราะห์ที่ค้นพบใหม่นำมาใช้ในการทำนายด้วย กล่าวคือ ได้มีการนำเอา ราหู (คือจุดตัดระหว่างวิธีโคจรของดวงจันทร์กับเส้นระวิมรรค) กับดาวเคราะห์ใหม่ คือ มฤตยู เนปจูน และ พูลโต มาใช้ในการทำนายด้วย
ปัจจุบันนักโหราศาสตร์และนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวพระเคราะห์อีกหลายดวง ที่สำคัญและมีบทบาทอย่างยิ่งในการพยากรณ์ทางโหราศาสตร์คือ
คิวปิโด
,ฮาเดส, เซอุส, โครโนส, อาพอลอน, แอดเมตอส, วัลคานุล, และ โพไซดอน

บทที่ 577
หลักการโดยทั่วไปของวิชาโหราศาสตร์ ไม่มีอะไรยุ่งยาก ข้อสำคัญอยู่ที่การ สังเคราะห์ ความหมาย หรือ จุดอิทธิพล ของปัจจัยโหราศาสตร์ ๆ ให้ถูกต้อง เมื่อได้ความหมายหรืออิทธิพลของปัจจัยโหราศาสตร์ต่าง ๆ แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ปฏิบัติเพียง พิจารณาดู ว่า ปัจจัยใดมีสัมพันธ์ ถึง" ดวงชะตา หรือในสมัยนี้ได้มีการแบ่งออกเป็นหลายจุด ซึ่งเรียกว่าจุด "จุดเจ้าชะตา"
บ้าง ปัจจัยใดมีความสัมพันธ์ถึง จุดเจ้าชะตา ปัจจัยนั้นก็แสดงอิทธิพล ตามความหมายทางโหราศาสตร์ของตน ต่อตัวเจ้าชะตา
อนึ่ง ท่านจะต้องเข้าใจว่า คำว่า ตัวเจ้าชะตา นั้น มีความหมายกว้างขวางมาก ไม่จำเป็นที่จะต้องหมายถึงบุคคลหรือสิ่งที่มีชีวิต แต่อาจเป็น สิ่งที่ไม่มีชีวิต หรือกิจกรรม  ความคิด ฯลฯ ย่อมได้ทั้งนั้น เพราะเหตุนี้เอง วิชาโหราศาสตร์จึงอาจนำมาใช้กับกิจกรรมต่าง ๆ ได้ โดยไม่มีชอบเขตจำกัด

บทที่ 578
ความหมายทางโหราศาสตร์ หรือ อิทธิพล ของบรรดาปัจจัยทางโหราศาสตร์ต่าง ๆ
เมริเดียน  
MC
หมายถึง บุคลิกภาพ ของเจ้าชะตา จิต ความนึกถึงตัว คุณสมบัติและประสบการณ์ทางด้านจิต การดิ้นรนไปสู่ความสูงส่งในชีวิต ไปสู่ความสว่าง
ของตน การปรับตนให้เข้ากับสังคม อาชีพการงานและตำแหน่ง แปลว่า นาที

จุดเมษ
หมายถึง บุคคลทั่วไป ถนนหนทาง บุคคลที่เรามีกิจธุระหรือวิสาสะด้วยเป็นการชั่วคราว แต่มิได้ทำความรู้จักกัน อิทธิพลของโลก


อาทิตย์ 
หมายถึงร่างกาย (ร่างกายที่มีชีวิตจิตใจเพราะวิญญาณ) ชีวิต ความปรารถนาในชีวิต  ความแข็งแรง  แปลว่า วัน
ลัคนา
หมายถึง ความสัมพันธ์ และความคุ้นเคย สิ่งแวดล้อมที่ใกล้ชิด ญาติและบุคคลที่สนิทชิดชอบ บุคคลซึ่งอุปการะเจ้าชะตาให้ได้เผชิญกับโลกภายนอก ผู้ซึ่งถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ทางกายสังขารและทางบุคคลิกลักษณะ และมีอิทธิพลต่อเจ้าชะตา
จันทร์
หมายถึง สตรี ประชาชน บุคคลหลายคน แปลว่า ชั่วโมง การทำงานของมันสมอง อารมณ์ ต่อมต่าง ๆ การขับถ่าย ของเหลว
ราหู 
หมายถึง  ความสัมพันธ์ การติดต่อ ความผูกพัน หรือ พันทะ
 

บทที่ 579
ดาวพุธ
หมายถึง  ความเฉลียวฉลาด ความคิด การแสดงออกในทาง การพูด การเขียนและการเรียนแบบของเจ้าชะตา แนวความคิด แผนการณ์ต่าง ๆ พัฒนาการทางด้านปัญญา ข่าวสารต่าง ๆ  ความคล่องแคล่ว เด็กหนุ่ม
ดาวศุกร์
หมายถึง  ความรัก ความสอดคล้องต้องกัน
(ารคล้อยตาม) วามสงบสุข ความสวยงาม ศิลปะความงาม  ดนตรี ความกล้า ความสนุกทางด้านกามมรณ์ ความมีรสชาด ความพอใจ สตรี สตรีมีความเป็นแม่และคอยดูแลเอาใจใส่
ดาวอังคาร
หมายถึง ความกระตือรือร้น กิจกรรม ความปรารถนา แรงกระตุ้น การกระทำ การดำเนินการ ความหุนหัน ตัณหา การเอกเสบ
บุคคลเพศชาย การงาน ธุรกิจ
ดาวพฤหัส
หมายถึง โชคลาภ ความสำเร็จ ความสุข บุญกุศล การขยายตัว ความสมบูรณ์  เงินทอง  ความยุติธรรม ความหวังดี  ความกรุณา  ความดี
ดาวเสาร์ 
หมายถึง  การพลัดพราก ความจำกัด  ความยากลำบาก ความสูญเสีย  อุปสรรค์  ความหน่วงหนี่ยว ความบากบั่น  ความละเอียดถี่ถ้วน ความช้านาน  การห่างเหิน ความเปล่าเปลี่ยว ความแก่ชรา 
 
บทที่ 580
ดาวมฤตยู
หมายถึง  ความฉับพลัน  ความประหลาดใจ ความตื่นเต้น ตกใจ เหตุการณ์หรือการมีอาการทางประสาทซึ่งเกิดขึ้นอย่างกระทัน หัน ในลักษณะจู่โจม และไม่เคยทราบมาก่อนล่วงหน้ามาก่อน  ความหมาย อาการแสดงออกที่วิตถาร หรือไม่เป็นไปถามปกติวิสัยซึ่งเกิดขึ้นชั่วแล่น กำลังงานไฟฟ้า การเปลี่ยนแปลงใหม่
ดาวเนปจูน
ความหมาย ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความไม่แจ่มใส การหลอกลวง หมอก ไอ ยาพิษ การวิปัสสนา สภาวะลับๆล่อ ๆ พัฒนาการที่ไม่แน่นอน ของเหลว ความผิด ความลวง
ดาวพลูโต
ความหมาย การพัฒนาการ การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนความผันแปร การเจริญเติบโตการแตกแขนง การสถาปณาใหม่ การปฏิวัติ การแปลง การปฏิรูป

บทที่ 581
คิวปิโด 
หมายถึง ครอบครัว  การแต่งงาน  การสมาคม การเป็นผู้มีคุณสมบัติทางด้านการสมาคม ศิลป การรวมกันเป็นหมู่คณะ บริษัท
ฮาเดส
หมายถึง ความเปล่าเปลี่ยว  ความขาดแคลน ความสกปรก  ความยากจน  ความไม่ราบรื่น ขยะมูลฝอย  ความเจ็บป่วยอยู่เป็นเวลานาน หรืออยู่ในสภาพที่ไม่ปกติ หรือยุ่งยาก  เหตุการณ์ที่สร้างความระทมขมขื่น พ่อหม้าย
เซอุส
หมายถึง  การอำนวยการ การประดิษฐ์ขึ้นมา การให้กำเนิด การสร้างขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  กิจกรรมที่มีแผนไว้โดย        สมบูรณ์ เป้าหมายระยะยาว ต้องการอำนวยการหรือ เจรจาในฐานะผู้มีอำนาจ  ไฟที่ได้รับการควบคุมบังครับ กำลังงานที่ได้รับความคุมบังคับ  เครื่องจักรกล  ผลผลิต
โครโนส
หมายถึง  อิสรภาพ  สิทธิอำนาจ รัฐ  จ้าวนาย หัวหน้า กษัตริย์  ผู้ยิ่งใหญ่  หัวหน้าครอบครัว ผู้อำนวยการ ผู้ที่ไม่ขึ้นกับผู้ใด  ความมีอิสรภาพเฉพาะบุคคล  บุคคลอื่นที่เหนือกว่า  สิ่งที่บุคคลครอบครองเพื่อความเป็นใหญ่เป็นโตของเขา
อาพลอน
หมายถึง  ชื่อเสียง  ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ การแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง  วิทยาศาสตร์ ประสบการณ์  ความไกลและความกว้าง สันติสุข  การค้า  การลงทุน
แดตเมตอส
หมายถึง  ความจำกัดอันใหญ่หลวง  การพลัดพรากจากกัน  ความตาย  ความสงนิ่ง  ความหนาแน่น  ธาตุแท้ วัตถุดิบ ต้นตอ  อาการหมุน  การหมุนเวียน  เข้าสู่ตำแหน่งนั้น  ความลึกซึ้ง
บทที่
582

ดาวที่กล่าวมานี้เราสามารถแยกได้ออกเป็นสองแบบคือดาว บาปเคราะห์ และดาว ศุภเคราะห์
ดาวบาปเคราะห์มีดังนี้ จะแสดงอิทธิพล หนักไปทางด้านร้าย ได้แก่ อังคาร เสาร์ มฤตยู  เนปจูน ฮาเดส บางทีก็ แอดเมตอน ด้วย
ดาวศุภเคราะห์ แสดงอิทธิพล กลาง ๆ หรือ ทางด้านดี
ท่านต้องทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ บาปเคราะห์ กับ ศุภเคราะห์ เสียตั้งแต่บัดนี้ เพราะจะมีประโยชน์สำหรับการเลือก จุดในการพยากรณ์ ถ้าต้องการพิจารณาหรือพยากรณ์ทางด้านดี ก็ให้พิจารณา แต่เฉพาะ ดาวศุภเคราะห์ ถ้าต้องการพิจารณาหรือพยากรณ์ เพื่อตรวจชะตาชีวิตทางด้านร้าย ก็ให้ใช้ แต่เฉพาะดาว บาปพระเคราะห์ ฤทธิ์ ของดาวในดวงชะตา จะไม่มีการหักกลบ กันแต่ประการใด

วัลคานุส
หมายถึง  พลังอันมหาสาร อำนาจ กำลังงาน กำลังอำนาจสูงสุด
โพไซดอน
หมายถึง  วิญญาณ  แนวความคิด การรู้แจ้ง สิ่งที่สามารถเรืองแสง การตรัสรู้